• การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติป่าชายเลน (สะพานไม้บานา)” ต.บานา อ.เมือง จ.ปัตตานี บัดนี้ได้ฤกษ์งามยามดีเปิดโปรแกรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติป่าชายเลนครอบคลุม 5 พื้นที่ คือ บานา ตันหยงลูโละ แหลมโพธิ์ บราโหม และบางปู อันเป็นพื้นที่รอบอ่าวปัตตานี 


  • เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2559 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ ดังกล่าวจัดโปรแกรมการท่องเที่ยวให้แก่นักท่องเที่ยว จำนวน 80 คน ประกอบด้วย อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งเป็นโปรแกรมท่องเที่ยวทดลองของกลุ่มดังกล่าว และหลังจากนี้จะมีการสรุปบทเรียนและนำไปปรับปรุงการจัดโปรแกรมการท่องเที่ยวอีกครั้งเพื่อให้การดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความต้องการของนักท่องเที่ยวและชุมชนมากยิ่งขึ้น






  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิเวศน์ อรุณเบิกฟ้า อาจารย์ประจำภาคแผนกพัฒนาสังคม ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี กล่าวว่า โครงการนี้ดำการมาเกือบ 2 ปี ภายใต้การสนับสนุนจากโครงการ 1 ชุมชน 1 วิทยาเขตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2558 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติป่าชายเลนเป็นกลุ่มหนึ่งที่โครงการดังกล่าวให้การสนับสนุน






  • มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอความเป็นตัวตนของชุมชนท่ามกระแสในเรื่อง Local tourism ที่กำลังได้รับความสนใจ จึงคิดร่วมกันจัดทำโปรแกรมการเดินทางท่องเที่ยว เรียนรู้จากชุมชนขึ้น ซึ่งนักท่องเที่ยวจะได้เรียนรู้เรื่องประวัติศาสตร์ ความเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมท้องถิ่น และอาชีพ เรียนรู้ว่าชาวบ้านมีวิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไร






  • เราเลือกที่อ่าวปัตตานีเพราะมีเรื่องราวให้เรียนรู้หลากหลาย ลงจากสะพานกรือเซะมาที่สะพานบานา นั่งเรือไปไปที่สุสานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ซึ่งเป็นสุสานจริงอยู่กลางน้ำ นักท่องเที่ยวสิงคโปร์ มาเลเซีย มาเยี่ยมเยียนบ่อย นักท่องเที่ยวจะได้เรียนรู้วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ อาจจะขัดแย้งกันบ้าง มีหลายตำนาน หลายประวัติศาสตร์ ซึ่งก็มาจากปากของชาวบ้านซึ่งไม่มีจากตำรา หรือจากนักวิชาการ นี่เป็นตัวตนชาวบ้านที่ได้รับรู้ จากนั้นไปที่บาราโหมเรียนรู้สุสานพญาอินทิราหรือสุลต่านอิสมาอีล ชาร์ ซึ่งเป็นเจ้าเมืองคนแรกของอาณาจักรปาตานีที่เปลี่ยนมาเข้ารับนับถือศาสนาอิสลาม ทรงปกครองอาณาจักรแห่งนี้ระหว่าง พ.ศ.2043-2073 เราได้เรียนรู้หมด มีความสวยงามอยู่ข้างใน เราได้ไปดูสุสานพญาอินทิราซึ่งเชื่อมกับประวัติศาสตร์ที่กรือเซะและประวัติศาสตร์ของลิ้ม กอเหนี่ยว พญาอินทิรา มีตัวตน แล้วสุสานก็เป็นอะไรที่เป็นสัญลักษณ์


















อ่านเพิ่มเติม: http://psu10725.com/2558/?p=2135


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น